วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Week 7 : Data Link Layer

Data Link Layer (1)

Data Link Layer - Introduction

ดาต้าลิงก์เลเยอร์ ทำหน้าที่ควบคุมสายข้อมูล ระหว่างระบบ กับปลายทางอีกด้านหนึ่ง โดยการรวมตัวอักขระ เข้าด้วยกัน เป็นข่าวสาร แล้วตรวจสอบ ก่อนที่จะส่งลงไปในสายสัญญาณ ดาต้าลิงก์เลเยอร์ทำหน้าที่ คล้ายผู้ควบคุม การจัดเรียง และสับเปลี่ยนตู้รถไฟของขบวนรถไฟ ก่อนจะออกจากสถานี และที่สถานีปลายทาง จะทำหน้าที่แจ้งว่าข้อมูลมาถึงอย่างปลอดภัยหรือไม่ ถ้าข้อมูลเสียหาย จะแจ้งขอให้สถานีต้นทาง ส่งข่าวสารมาใหม่
Media Access Control (MAC)

โดย MAC นี้จะสนับสนุนการปฏิบัติงาน, ตัดสินใจที่จะส่งข้อมูล เมื่อเน็ตเวิร์คว่าง และข้อมูลพร้อมที่จะส่ง, ตัดสินใจช่วงเวลาในการส่งข้อมูล, เพิ่ม Byte ควบคุมให้กับข้อมูล โดยมีรูปแบบข้อมูล เรียกว่า Frame และควบคุมถึงข้อมูลที่ส่งผ่านทาง Physical Layer ด้วย

Controlled Access
- Controlling access to shared resources
- Commonly used by maingrames
- Also used by some LAN protocols

Polling
เทคนิคการโพลนั้นจะต้องมีสถานีที่ทำหน้าเป็นสถานีหลัก (Primary station) อยู่หนึ่งสถานี
ส่วนที่เหลือจะเป็นสถานีรอง (secondary station) สถานีหลักจะทำหน้าที่ในการควบคุมการส่งทั้งหมด ถ้าสถานีหลักต้องการที่จะรับข้อมูลไปให้สถานีรอง จะเรียกว่า การโพล (polling) แต่ถ้าสถานีหลักต้องการที่จะส่งข้อมูลให้สถานีรอง จะเรียกว่า การซิเลค (Selectiong)

- Roll call polling ใช้ใน mainframe คอมพิวเตอร์สามารถส่งข้อมูลเมื่อมีการถามโดยเซิร์ฟเวอร์และส่งข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์

- Hub polling ถ้ามี terminal หลายตัวและอยู่ห่างไกลกัน poll message จะส่งผ่านระหว่าง
กลุ่มโดยใช้ CC

Error Detection and Correction
Error Control การควบคุมความผิดพลาดของข้อมูลจะหมายถึง การที่ผู้ส่งต้องส่งข้อมูลไปใหม่อีกครั้งหนึ่ง ถ้าผู้รับไม่สามารถรับข้อมูลหรือได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง สาเหตุที่ต้องมีการควบคุมก็เนื่องจากว่า
ข้อมูลจะต้องเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
Type of Error
- Single - Bit Error
ความผิดพลาดของข้อมูลแบบบิตเดียว หมายความว่า ข้อมูลแต่ละชุดที่ถูกส่งออกไปจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นเพียงบิตเดียวเท่านั้น
- Burst error
ความผิดพลาดของข้อมูลแบบหลายบิตนั้น เป็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับข้อมูลตั้งแต่ 2 บิตขึ้นไป เนื่องจากสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นอาจะมีช่วงระยะเวลาที่นาน ซึ่งอาจะเกิดความผิดพลาดได้มากกว่า
Major functions
- Preventing error
- Detectiong errors
- Correctiong errors

Error detection
การตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูล ในการตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูลโดยการใช้บิตตรวจสอบนั้น สามารถทำได้ดังนี้
- Parity checks แบ่งออกได้เป็น Simple parity check and Two-Dimensional parity check
- Simple parity check จะส่งบิตตรวจสอบหรือ parity bit ส่งไปพร้อมกับบิตข้อมูลจริง ทำได้ 2 วิธี
- even-parity มีเลข 1 เหลือเป็นจำนวนคู่
- odd-parity มีเลข 1 เหลือเป็นจำนวนคี่
LRC
Longitudinal Redundancy Checking
เป็นการนำบล็อกของบิตข้อมูลมาจัดในตาราง(จัดเป็นแถวและหลัก) โดยการนำบล็อกของข้อมูล 32 บิตมาจัดในตารางให้เป็น 4 แถวและ 8 หลัก แล้วทำการตรวจสอบพาริตี้บิตของหลักทุกหลักแล้วจะได้แถวของข้อมูล 8 บิตขึ้นมาใหม่ 1 แถว การทำพาริตี้บิต บิตที่ 1 ในแถวที่ 5 ได้จากการทำพาริตี้คู่ของบิตแรกในทุกๆ แถว, พาริตี้บิต บิตที่ 2 ในแถวที่ 5 ได้จากการทำพาริตี้คู่ของบิตที่ 2 ในทุกๆ แถว และเป็นเช่นนี้จนถึงบิตที่ 8 จากนั้นทำการส่งพาริตี้บิต 8 บิตนี้ต่อจากข้อมูลเดิมส่งไปยังผู้รับ

Polynomial Checking
ปกติแล้วในการแทนบิตข้อมูลของตัวหารจะไม่ใช้รูปของเลขฐานสอง เนื่องจากค่อนข้างยาวและจำไดยากแต่จะเขียนให้อยู่ในรูปแบบของโพลิโนเมียล
ในการเลือกตัวหารเพื่อที่จะนำมาใช้ในกับวิธีแบบ CRC นั้น ควรจะต้องต้องมีคุณสมบัติอย่างน้อยที่สุดเป็นดังนี้
- ไม่ควรที่จะถูกหารด้วย x ลงตัว
- ควรที่จะถูกหารด้วย x+1 ลงตัว

Checksum
วิธีการตรวจสอบแบบ checksum
1.ข้อมูลจะถูกแบบออกเป็นเซ็กเมนต์ย่อย เซ็กเมนต์ละ n บิต
2.นำข้อมูลของทุกเซ็กเมนต์มาบวกันด้วยวิทีการแบบ 1's Complement
3.นำผลรวมของทุกเซ็กเมนต์มาทำคอมพลีเมนต์
4.ส่งบิตตรวจสอบไปพร้อมกับข้อมูล
การตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูล
เมื่อข้อมูลมาถึงผู้รับ จะมีขั้นตอนการตรวจสอบดังนี้
1.รวบรวมข้อมูลแต่ละเซ็กเมนต์ๆ ละ n บิต
2.นำข้อมูลของทุกเซ็กเมนต์มาบวกกันด้วยวิธีการแบบ 1's Complement
3.นำผลรวมของทุกเซ็กเมนต์มาทำคอมพลีเมนต์
4.ถ้าผลลัพธ์ที่ไดเท่ากับ 0 แสงว่าข้อมูลชุดนั้นถูกต้อง

Error Correction

Retransmission
ถ้ารับข้อมูลมาเกิดความผิดพลาด ก็จะส่งข้อมูลไปบอกทางผู้รับให้ส่งกลับมาใหม่

Forward Error Correction
FEC จะทำให้ผู้รับข้อมูลที่เกิดความผิดพลาดนั้นสามารถที่จะแก้ไขความผิดพลาดของข้อมูลได้โดยอัตโนมัติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น